เกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อปริญญา

     วศ.ม. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)


ปรัชญา

     เพื่อผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถ และมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ หลักสูตรนี้เน้นการค้นคว้าและพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อการประดิษฐ์ด้านซอฟต์แวร์และทำผลิตภัณฑ์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น รวมทั้งการให้บริการวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ


วัตถุประสงค์
  • เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ด้วยมาตรฐานระดับนานาชาติ ผู้สามารถนำความรู้ไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน
  • เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ ค้นหางานวิจัย และพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • เพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม รวมทั้งมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
  • เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าและการใช้บริการวิชาการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


โครงสร้างหลักสูตร

     จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก(2) และแผน ข ดังนี้
หมวด
 (1) หมวดวิชาปรับพื้นฐาน    
 (2) หมวดวิชาบังคับ
 (3) หมวดวิชาเลือก
 (4) วิทยานิพนธ์
 (5) สารนิพนธ์
รวมไม่น้อยกว่า
แผน ก(2)
ไม่นับหน่วยกิต
21 หน่วยกิต
ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต  
12 หน่วยกิต
-
39 หน่วยกิต
แผน ข
ไม่นับหน่วยกิต
21 หน่วยกิต
12 หน่วยกิต
-
6 หน่วยกิต
39 หน่วยกิต


ระบบการศึกษา

     ระบบหน่วยกิตทวิภาค หนี่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา ซึ่งแต่ละภาคการศึกษามีระยะเวลาประมาณ 16 สัปดาห์  และภาคฤดูร้อน


ระยะเวลาการศึกษา

     ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 2 ปีการศึกษา โดยใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 4 ปีการศึกษา


อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

     ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย(โดยประมาณ) 70,000 บาท ต่อปี (ไม่รวมค่าหอพักและค่าใช้จ่ายส่วนตัว)  ดังนี้
  1. ค่าลงทะเบียน 20,000 บาทต่อคนต่อปี (คิด 2 ปีการศึกษา)
  2. ค่าบำรุงอุปกรณ์ 50,000 บาทต่อคนต่อปี (คิด 2 ปีการศึกษา)
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า


จุดเด่นของหลักสูตร 

     หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนและการวิจัย ใน 3 ด้านหลัก คือ
  1. ด้านระบบสารสนเทศ (Information Systems) 
  2. ด้านการประยุกต์ทางอุตสาหกรรม(Industrial Applications) และ
  3. ด้านความมั่นคงและนิติวิทยาเชิงเลข (Security and Digital Forensics) 
โดยภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมจัดตั้งห้องปฏิบัติการ Digital Forensics สําหรับการเรียนการ สอนและการวิจัยทางด้าน Digital Forensics


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา
  • นักวิชาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นิติวิทยาเชิงเลข
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
  • ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ ระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
  • ผู้บริหารโครงการสารสนเทศ
  • นักนิติวิทยาเชิงเลข
  • วิศวกรในอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดแวร์
  • ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ



ความคิดเห็น